การเลี้ยงไก่ชนเชิงอนุรักษ์ หรือการเลี้ยงไก่ชนสวยงามเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเป็นไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อโรคและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีเนื้อมีรสชาติดีและตลาดมีความต้องการสูงมาก เมื่อนำมาคัดสายพันธุ์ตามลักษณะและมาตรฐานประจำพันธุ์แล้ว จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้ไก่พื้นเมือง ได้ถึง 10–100 เท่า โดยเฉพาะตัวที่ผ่านการประกวดและชนะเลิศมาแล้ว อาจมีราคานับแสนบาทเลยทีเดียว นอกจากนี้การเลี้ยงไก่เชิงอนุรักษ์หรือไก่ชนสวยงาม ยังเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีต เป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
เงื่อนไขความสำเร็จ
- ต้องมีความรู้ และเข้าใจ ลักษณะประจำพันธุ์หรือมาตรฐานพันธุ์ของไก่ชนไทย
- ต้องเข้าใจหลักการผสมพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้ไก่ชนตามมาตรฐานพันธุ์
- ต้องมีลักษณะการผลิตในรูปแบบของกลุ่ม หรือชมรมโดยมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 20 ราย
- ต้องประสานการตลาดล่วงหน้ากับผู้ซื้อ–ขายไก่ชนสวยงาม เช่น ตลาดจตุจักร หรือจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านไก่ชนสวยงาม เพื่อป้องกันปัญหาด้านการตลาดที่จะเกิดขึ้น


เทคโนโลยีและกระบวนการผลิต
- พันธุ์ไก่ชน ไก่ชนสวยงามพันธุ์ไทย ที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ เหลืองหางขาว และ ประดู่หางดำ การเลือกซื้อไก่ชนพ่อแม่พันธุ์ควรเลือกซื้อจากฟาร์มที่มีประวัติได้รับการรับรองน่าเชื่อถือ เพื่อให้ได้ไก่ตรงตามพันธุ์อย่างแท้จริง
- โรงเรือนและอุปกรณ์
สถานที่เลี้ยงไก่ชน ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนเพื่อป้องกันโรคระบาดและไม่รบกวนเพื่อนบ้าน บริเวณที่เลี้ยงควรมีร่มไม้ชายคา คอกเลี้ยงไก่ควรทำด้วยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ยูคาลิปตัส หลังคามุงด้วยแฝกหรือจาก ภายในโรงเรือนควรมีคอนให้ไก่ได้เกาะหลับนอน สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในโรงเรือนต้องมีรางน้ำ รางอาหารอย่างเพียงพอกับจำนวนไก่ และมีรังไข่ให้แม่ไก่ฟักไข่อย่างเพียงพอเช่นกัน - อาหารและการให้อาหาร
การเลี้ยงไก่ชนที่ดีควรเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่ได้ออกกำลังกายและหาอาหารกินตามธรรมชาติไก่ชนก็จะคุ้ยเขี่ยหาเศษข้าวเปลือกที่ตกตามลานนา หาหนอน หาปลวกและแมลงกินเอง แต่ในสภาพปัจจุบันควรเลี้ยงไก่ชนแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย และมีอาหารเสริม เช่น หญ้า หยวกกล้วย หรือผลไม้สุก หรือหาหนอน แมลง ลูกกบ ลูกเขียด ลูกปลา กุ้งฝอย เนื้อปลาสับ หรืออาหารสำเร็จรูปมาเสริมบ้าง จะทำให้ไก่ชนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่หลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว ควรฝึกให้ไก่ชนได้กินข้าวเปลือกทีละน้อยแล้วเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อไก่โตขึ้น การให้น้ำควรตั้งให้กินตลอดเวลา อุปกรณ์ให้น้ำควรเป็นแบบแขวนจะดีที่สุดหรือดัดแปลงจากวัสดุในฟาร์ม เช่น อ่างน้ำหรือกะละมัง - การจัดการเลี้ยงดู
จะเลี้ยงในระบบปล่อย เพื่อให้ไก่ออกกำลังกายและหากินตามธรรมชาติการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ไก่ชนสวยงาม จำเป็นต้องทราบลักษณะและมาตรฐานพันธุ์ไก่แต่ละสายพันธุ์และไม่ควรผสมข้ามสายพันธุ์โดยเด็ดขาด เพื่อคงพันธุกรรมของแต่ละสายพันธุ์ไว้สำหรับอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 1 ต่อ 5 โดยทั่วไปลักษณะของไก่ชนพันธุ์ดีที่ควรคัดไว้ทำพันธุ์สามารถทำได้ตั้งแต่อายุแรกเกิด โดยดูว่ามีลักษณะดีเด่นตามสายพันธุ์หรือไม่ เช่น ไก่เหลืองหางขาวต้องมีลักษณะปากขาว แข้งขาว มีจุดขาวหรือมีขนสีขาวพอสมควร ส่วนพวกที่ไม่มีลักษณะตรงตามพันธุ์จะคัดไว้เป็นไก่เนื้อเพื่อการบริโภคเมื่อไก่อายุ 8–12 เดือน จะสามารถคัดเลือกเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ โดยให้พิจารณาจากลักษณะที่ปรากฏให้เห็นไก่จะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ขนเป็นมันเงางาม สีชัดเจนและมีลักษณะเด่นชัดตามแต่ละสายพันธุ์การเลี้ยงโดยทั่วไป แม่ไก่แต่ละตัวจะให้ลูกได้ปีละ 4 ชุด แต่ละชุดจะเลี้ยงรอดประมาณ 8 ตัว - การป้องกันโรคระบาด
ควรมีการทำวัคซีนโรคระบาดที่สำคัญ ได้แก่ โรคนิวคาสเซิล (โรคกระแตเวียน) โรคอหิวาต์ (โรคหน้าดำหรือโรคตกคอนตาย) โรคฝีดาษ (เกิดจากยุงกัด) และโรคหลอดลมอักเสบ (ไอ จาม น้ำมูก น้ำตาไหล หน้าบวม) โดยหาซื้อวัคซีนและขอคำแนะนำได้จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ
- โรงเรือนและอุปกรณ์


ต้นทุนและผลตอบแทน
สำหรับการเลี้ยงไก่ 1 ชุด ประกอบด้วย พ่อพันธุ์ 1 ตัวและแม่พันธุ์ 5 ตัว
- ต้นทุน จะได้แก่ ค่าพ่อแม่พันธุ์ค่าอาหาร ค่าวัคซีนและเวชภัณฑ์ซึ่งจะมีต้นทุนโดยรวมประมาณ 30,000–32,000 บาท
- ผลตอบแทน
ในปีแรก แม่ไก่ 1 ตัว จะให้ลูกรวมทั้งสิ้นประมาณ 160 ตัว ผลตอบแทนจะได้จากการจำหน่ายไก่ชนประเภทสวยงามที่คัดไว้ และไก่ชนคัดทิ้งที่เลี้ยงเป็นไก่เนื้อ โดยจะมีผลตอบแทนประมาณ 60,000–80,000 บาท และในปีถัดไปจะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องลงทุนค่าพ่อ-แม่พันธุ์อีก อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนดังกล่าวจะผันแปรแตกต่างกันได้ตามสภาวะการตลาดและแหล่งที่เลี้ยง โดยเฉพาะราคารับซื้อไก่ชนประเภทสวยงาม ซึ่งต้องอาศัยประวัติของพ่อแม่พันธุ์และคุณลักษณะเฉพาะตัวเป็นสำคัญ
- ผลตอบแทน