28.5 C
Bangkok
Sunday, December 10, 2023

เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี โดยมีแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาทและคำนึงถึงความพอประมาณ คือ ให้ทำอะไรด้วยความพอดีไม่มากไม่น้อยเกินไปและต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีเหตุผลในการกระทำและมีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวคือ มีการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับผลกระทบจากความปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร มาประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำทุกอย่าง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ค้นพบประวัติว่า ปรัชญานี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2507 แต่ครั้งนี้ผู้ได้รับฟังเห็นดีเห็นงาม มีศรัทธา หากแต่ยังไม่ได้มีการนำมาปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง จนกระทั่งปี2540 (เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ) เมื่อเกิดเหตุการณ์จึงทำให้มีผู้สนใจในปรัชญามากขึ้น หลังจากนั้นมีความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยนำหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยอีกประการหนึ่ง

ปี 2552 เป็นอีกคราวหนึ่ง ที่ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงขอพระราชทานนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและประชาชนที่ประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ ทั้งที่เป็นอาชีพเกษตรกรรมหรือสาขาอื่นเพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้ได้ต่อไปสำหรับเกษตรกรและประชาชนนั้น เราทั้งหลายสามารถถอดบทเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติจริงในชีวิตได้ เพียงสำนึกในทุกย่างก้าวด้วยหลักพอเพียงอย่างรู้เพียงพอ

สำหรับเกษตรกรและประชาชนนั้น เราทั้งหลายสามารถถอดบทเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติจริงในชีวิตได้ เพียงสำนึกในทุกย่างก้าวด้วยหลักพอเพียงอย่างรู้เพียงพอ

เกษตรพอเพียง
เกษตรพอเพียง

“พอเพียง” หลักของการใช้ชีวิต

เศรษฐกิจพอเพียง ของขวัญจากพ่อของแผ่นดินพระองค์ทรงสอนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้คนไทยได้ศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิตอย่างพอดีพอประมาณ สมดุล และสร้างภูมิคุ้มกันภัยที่อาจเกิดขึ้นแก่ตนเองและครอบครัว แก่งานและสังคม

มิใช่การสอนที่ให้เอาเงินเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่แค่เรื่องการค้าขาย เรื่องการทำมาหากิน
มิใช่การชวนถอยหลังกลับไปอยู่ในยุคโบราณที่ขาดแคลน
มิใช่การสอนให้คนหยุดพัฒนา หยุดกระตือรือร้น หยุดรับความรู้และเทคโนโลยี
มิใช่การสอนให้ทำทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถเพิ่มตัวเลขการเงินของตนเอง

เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นหลักที่ทุกคนทุกครอบครัว ทุกองค์กร ทุกชุมชน สามารถน้อมนำมาปฏิบัติได้ ด้วยการทวนกระแสกิเลสและความโลภ

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Related Articles

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Stay Connected

0FansLike
0FollowersFollow
0SubscribersSubscribe
- Advertisement -

Latest Articles