ในกิจกรรมการเลี้ยงโคนม จะพบว่าโคนมเพศผู้ที่เกิดมาจะไม่เป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เนื่องจากเป็นภาระในการจัดการเลี้ยงดูค่อนข้างมาก จึงมักจำหน่ายออกจากฟาร์มในราคาถูกตั้งแต่แรกเกิด อย่างไรก็ตามเนื่องจากความต้องการเนื้อโคเพื่อบริโภคในตลาดยังมีอยู่สูง ดังนั้น การนำเอาโคนมเพศผู้มาเลี้ยงขุนเป็นโคเนื้อจะเป็นการเพิ่มปริมาณการผลิตเนื้อโคให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดและยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย

เงื่อนไขความสำเร็จ
- เกษตรกรควรมีความรู้ หรือประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกโคแรกเกิดจนถึงหย่านม
- ต้องมีสถานที่ที่เหมาะสมและเพียงพอในการเลี้ยงดูและจัดทำแปลงหญ้า
- สถานที่เลี้ยงจะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งเลี้ยงโคนม เพื่อจะสามารถหาโคนมเพศผู้ได้โดยสะดวก
- ควรอยู่ใกล้แหล่งพืชอาหารหยาบหรือแหล่งของวัสดุเหลือใช้หรือผลพลอยได้ทางการเกษตรราคาถูกในท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงโค
- ต้องมีตลาดหรือแหล่งรับซื้อโคนมขุนที่ชัดเจน
เทคโนโลยีและกระบวนการผลิต
- พันธุ์สัตว์ ในการขุนจะใช้ลูกโคนมเพศผู้อายุประมาณ 3 วันขึ้นไป และจะต้องได้กินนมน้ำเหลืองจาก แม่โคแล้ว
- การจัดการเลี้ยงดู จะนิยมเลี้ยงลูกโคนมรวมกันในคอกและโรงเรือนที่มีหลังคากันแดดกันฝนได้มีการแบ่งแยก
คอกตามขนาดและอายุของลูกโค โดยในระยะอายุ 1 สัปดาห์ถึง 2 เดือน ให้เลี้ยงลูกโคด้วยนมผงทดแทนหรือนมสด เสริมด้วยหญ้าคุณภาพดีและอาหารข้นไม่จำกัด และจะหย่านมเมื่อโคมีอายุประมาณ 2 เดือนหลังจากโคอายุ 3 เดือนไปแล้ว ให้ใช้หญ้าหรืออาหารหยาบอื่นๆ ให้กินอย่างเต็มที่ โดยการเลี้ยงปล่อยในแปลงหญ้าหรือขังคอกแล้วตัดหญ้ามาให้กิน เสริมด้วยอาหารข้น วันละ 1-2 กิโลกรัมต่อตัว ควรมีการถ่ายพยาธิพ่นยาฆ่าเห็บอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการทำวัคซีนป้องกันโรคคอบวมและโรคปากและเท้าเปื่อยตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม เลี้ยงขุนจนโคนมมีอายุ 18 เดือน ซึ่งจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 300 กิโลกรัมขึ้นไป ก็สามารถจำหน่ายให้ผู้ซื้อหรือโรงฆ่าได้
- การจัดการเลี้ยงดู จะนิยมเลี้ยงลูกโคนมรวมกันในคอกและโรงเรือนที่มีหลังคากันแดดกันฝนได้มีการแบ่งแยก

ต้นทุนและผลตอบแทน
- ต้นทุน จะเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าพันธุ์โค ค่านมผงและอาหารข้น ค่าเวชภัณฑ์และการจัดการอื่นๆ ซึ่งจะ มีต้นทุนประมาณ ตัวละ 10,000–10,500 บาท
- ผลตอบแทน จะได้จากการจำหน่ายโคนมเพศผู้ที่น้ำหนัก 300 กิโลกรัมขึ้นไปเป็นหลัก และมีรายได้เสริมจาก
การจำหน่ายมูลโคที่ได้จากการเลี้ยง โดยจะมีผลตอบแทนรวมประมาณตัวละ12,000-13,000 บาท ทั้งนี้ ต้นทุนและผลตอบแทนดังกล่าวจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามแหล่งที่ผลิต ราคาปัจจัยการผลิต และราคารับซื้อของตลาดที่จะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องท
- ผลตอบแทน จะได้จากการจำหน่ายโคนมเพศผู้ที่น้ำหนัก 300 กิโลกรัมขึ้นไปเป็นหลัก และมีรายได้เสริมจาก
แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร