ตะไคร้เป็นพืชเครื่องเทศ/สมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่ใช้ในการประกอบอาหารไทยหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารจำพวกยำ หรือแกงต่างๆ หรือแม้แต่ต้มยำกุ้ง ซึ่งเป็นอาหารที่คนรู้จักกันทั่วโลกก็ยังมีตะไคร้เป็นส่วนประกอบ และในปัจจุบันได้มีบริษัทอุตสาหกรรมบางแห่งได้ผลิตเครื่องปรุงอาหารไทยสำเร็จรูป เพื่อวางจำหน่ายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ และส่งออก ทำให้เห็นได้ว่าตะไคร้ยังมีโอกาสในการทำตลาดได้ แต่ทั้งนี้ผลผลิตต้องมีปริมาณและคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการด้วย ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องมีการวางแผนการผลิตและการตลาดเป็นอย่างดี
- การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือเหง้าไปปลูก
- การเตรียมแปลงปลูก โดยการไถดินตากก่อนประมาณ 7 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช โรคและแมลงในดิน ตามด้วยการไถพรวนเพื่อย่อยดิน การยกร่องทำแบบเดียวกับการปลูกพืชโดยทั่วๆ ไป ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 50×50 เซนติเมตร แล้วนำส่วนของหน่อหรือเหง้าลงปลูกระหว่างข้างร่อง หรือกลางร่อง หลุมละประมาณ 1-2 ต้น โดยปักให้เอียง 45 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้หน่อหรือเหง้าประมาณ 6,400–12,800 ต้น แล้วแต่ระยะห่างระหว่างเหง้า
- การให้น้ำ สามารถทำได้ 2 แบบ คือให้น้ำแบบสปริงเกอร์ และปล่อยน้ำไหลเข้าร่องพอให้ดินเปียก


การให้ปุ๋ย
หลังจากปลูกประมาณ 20-50 วัน ใส่ปุ๋ย เมื่อตะไคร้เริ่มมีการแตกกอในช่วงตั้งแต่ 120-150 วัน ใส่ปุ๋ยสูตรเดิมเดือนละครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตส่วนของเหง้าและใบ
- การดูแลรักษาตะไคร้ ตะไคร้เป็นพืชที่ทนต่อโรคแมลง และทนแล้งได้ดีซึ่งง่ายต่อการดูแล ปัญหาที่มักพบกับ ต้นตะไคร้บ้าน คือ หนอนกอเข้าทำลายในระยะต้นกำลังเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันได้ด้วย การกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และดูแลให้ต้นตะไคร้แข็งแรงโดยการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน
- การวางแผนการผลิตต่อการตลาด จัดประชุมวางแผนการผลิตและการตลาดในท้องถิ่น เพื่อกำหนดทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มก่อนปลูก โดยประสานกับผู้รับซื้อที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือลูกค้าเป้าหมายของกลุ่ม
43 - ผลผลิต (ผลผลิตสด) เริ่มให้ผลผลิตได้หลังปลูก 90 วัน (ผลผลิต 2 ตันต่อไร่ต่อปี)
- ตลาดและผลตอบแทน เริ่มให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้หลังปลูก 90 วัน (ผลผลิต 2 ตันต่อไร่ต่อปี)
- การวางแผนการผลิตต่อการตลาด จัดประชุมวางแผนการผลิตและการตลาดในท้องถิ่น เพื่อกำหนดทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตของกลุ่มก่อนปลูก โดยประสานกับผู้รับซื้อที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือลูกค้าเป้าหมายของกลุ่ม
ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน
- ต้นทุนการผลิต 2,585 บาทต่อไร่
- ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัมต่อไร่
- ราคาที่เกษตรกรขายได้ 4-6 บาทต่อกิโลกรัม
- รายได้รวม 10,000 บาทต่อไร่
- รายได้สุทธิ 7,415 บาทต่อไร่

หมายเหตุ : กำหนดให้ต้นทุนการผลิตต่อไร่เท่ากับ 3,760 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์