ไผ่ ถูกจัดให้เป็นพืชอเนกประสงค์ และสารพัดประโยชน์ เนื่องจากส่วนต่างๆ ของไผ่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิหน่อสามารถนำมาประกอบอาหาร หรือแปรรูปเป็นหน่อไม้ปิ๊บ(ต้มบรรจุปิ๊บ) ลำต้นสามารถใช้ในการก่อสร้าง เช่น ทำนั่งร้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือทำเยื่อกระดาษ ใบใช้ห่อขนม ทำหมวก ทำหลังคา กิ่งและแขนงใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และกิ่งแขนงของไผ่ยังนิยมใช้มาเป็น ส่วนขยายพันธุ์ พันธุ์ไผ่ที่สำคัญ และเป็นที่นิยมปลูกในการบริโภค ได้แก่ ไผ่ตง ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกไผ่ตงเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมก็ได้เพราะไผ่ตงเป็นไม้โตเร็ว สามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิดและเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้
- พันธุ์ไผ่ตง
ไผ่ตง สามารถจำแนกเป็นพันธุ์ต่างๆ ได้ 5 พันธุ์ ด้วยกันคือ
“ตงดำหรือตงจีน” เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากที่สุด เนื่องจากมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคและตลาดมีความต้องการมาก ให้ผลผลิตสูง และเป็นพันธุ์ที่นิยมนำมาใช้เป็นตงหมก (ไผ่ตงหวาน) ซึ่งจะขายได้ราคาสูงกว่าไผ่ตงธรรมดาที่ไม่ได้หมักถึง 2 เท่าตัว
“ตงหม้อหรือตงใหญ่” เป็นพันธุ์ที่มีต้นขนาดใหญ่และมีการแตกกิ่งแขนงน้อย ทำให้การขยายพันธุ์เป็นไปได้น้อยและช้า การออกหน่อไม่ดก เพราะออกเฉพาะช่วงกลางฤดูฝน และช่วงเวลาที่ออกหน่อสั้นมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมปลูกมากนัก
“ไผ่ตงเขียว” เป็นไผ่ขนาดกลาง และสามารถทนความแห้งแล้งได้ดีให้ผลผลิตสูง มีช่วงการออกหน่อกว้างกว่าพันธุ์อื่น คือ จะออกหน่อถึง 2 ช่วง คือฤดูฝนและระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีไผ่ตงออกสู่ตลาดน้อย ทำให้ขายได้ราคาสูง แม้คุณภาพจะด้อยกว่าไผ่ตงดำ
“ไผ่ตงไต้หวันชนิดใหญ่” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “มาจู” และไผ่ตงไต้หวันชนิดเล็ก หรือ “ลิ่วจู” ซึ่งหน่อของไผ่ตงทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถรับประทานดิบๆ ได้เพราะมีรสหวานกรอบ และเนื้อละเอียด
หมายเหตุ การปลูกไผ่ตงพันธุ์ไต้หวัน เช่น ไผ่มาจูจะต้องมีการกลบดินสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตรในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ก่อนที่จะแทงหน่อ เพราะหากหน่อถูกแสงแดดกาบจะเป็นสีเขียว มีรสขมและไม่สามารถรับประทานได้ - ดิน
ไผ่ตงจะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำที่ดีไม่ชอบสภาพดินปลูกที่มีน้ำท่วมขัง เพราะถ้าโดนน้ำท่วมขังจะทำให้ราก หน่อ และเหง้าเน่าตายได้ง่าย และดินที่เหมาะกับการปลูกควรเป็นดินกรดหรือดินเปรี้ยว
หมายเหตุ ถ้าจะปลูกในบริเวณที่ลุ่มมีน้ำท่วมถึง ควรทำการยกร่องให้สูงพ้นน้ำ - ภูมิอากาศ
ไผ่ตงเป็นพืชที่ทนความแล้งได้ดี พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำตั้งแต่ 1,100 มิลลิเมตร ขึ้นไปก็สามารถปลูกได


ขั้นตอนการดำเนินการ
- การเตรียมดิน ควรทำในช่วงก่อนฤดูฝน โดยกำจัดวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมด ไถพรวนดิน 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดะตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงไถพรวนอีกครั้งให้ดินย่อยละเอียด
- ระยะปลูก ระยะปลูกของไผ่ตง ควรคำนึงถึงเรื่องพันธุ์และสภาพดินเป็นหลัก ดังนี้
- ไผ่ตงหม้อหรือตงใหญ่ ต้องใช้ระยะปลูกกว้างกว่าพันธุ์อื่น ระยะที่เหมาะสม
คือ 8×8 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้ 25 ต้น
- ไผ่ตงหม้อหรือตงใหญ่ ต้องใช้ระยะปลูกกว้างกว่าพันธุ์อื่น ระยะที่เหมาะสม
- ระยะปลูก ระยะปลูกของไผ่ตง ควรคำนึงถึงเรื่องพันธุ์และสภาพดินเป็นหลัก ดังนี้
- ไผ่ตงดำ ระยะปลูกในพืชที่ดินดีมีธาตุอาหารพืชสมบูรณ์ระยะปลูกควรเป็น 8×8 เมตร ไร่หนึ่งปลูกได้25 ต้น แต่ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง หรือ ต่ำ อาจใช้ระยะ 6×6 เมตร ซึ่งต้องมีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างดี โดยการตัดแต่งกอ และให้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี
- ไผ่ตงเขียว ระยะปลูกควรเป็น 8×8 เมตร หรือ 6×8 เมตร สามารถปลูกได้ 35-45 ต้นต่อไร่ หมายเหตุ ถ้าในสภาพที่ดินไม่ดีนัก ฝนตกไม่สม่ำเสมอ ควรปลูกเฉพาะไผ่ตงสีเขียว เพราะเป็นพันธุ์ที่ทนแล้งได้ดีกว่าไผ่ตงดำ
- วิธีปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากดินจะมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยการปลูกจะวางกิ่งให้เอียง 45 องศาเซลเซียสกับพื้นดิน จะทำให้ไผ่ตงแทงหน่อได้เร็วกว่าการปลูกโดยไม่เอียงกิ่งพันธุ์ หมายเหตุ ในการปลูกปีแรก – ปีที่ 3 ควรปลูกพืชแซม เช่น พริก มะเขือ ซึ่งนอกจากจะช่วยเสริม รายได้แล้วยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินอีกด้วย
- การเก็บเกี่ยว
ไผ่ตงที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป สามารถตัดหน่อออกขายได้โดยสามารถตัดหน่อออกขายได้ทุก 4-5 วัน นิยมตัดหน่อในตอนเช้า เนื่องจากจะได้หน่อที่สด และมีรสชาติหวาน
- การเก็บเกี่ยว


ตลาดและผลตอบแทน
ในการจำหน่ายหน่อไม้ไผ่ตงสด เกษตรกรจะจำหน่ายให้แก่พ่อค้าคนกลางจากปากคลองตลาดส่วนหนึ่งและโรงงานหน่อไม้อัดปิ๊บส่วนหนึ่ง โดยในระยะต้นฤดูและปลายฤดูคือ ช่วงมิถุนายนถึงกรกฎาคม และสิงหาคมถึงพฤศจิกายน เป็นช่วงที่มีหน่อไม้ออกสู่ตลาดน้อย และมีราคาดีอาจมีราคากิโลกรัมละ 10-15 บาท ผลผลิตส่วนใหญ่จะขายให้กับพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะเสียค่าขนส่งเองเพื่อนำไปจำหน่ายให้ผู้บริโภคต่อไป แต่ในระยะที่ไผ่ตงมีหน่อออกสู่ตลาดมากประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมราคาจะต่ำลง บางครั้งราคากิโลกรัมละ 1.00-1.50 บาท ในช่วงนี้เกษตรกรจะจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตหน่อไม้ตงอัดปิ๊บเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่วนหนึ่งจะส่งออกต่างประเทศ โดยมีตลาดใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ไผ่ตง จะสามารถให้ผลผลิตเต็มที่ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป แต่ละกอมีผลผลิตประมาณ 30-40 หน่อ และมีน้ำหนักประมาณ 45-80 กิโลกรัม หรือใน 1 ไร่ จะมีผลผลิตเป็นน้ำหนักประมาณ 1,125-2,000 กิโลกรัม และตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป เกษตรกรจะเสียค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกต่อไร่เฉลี่ย 2,790 บาท
แหล่งข้อมูล : กรมส่งเสริมการเกษตร